(COMMUNITY ANTANA TELEVISION )
หมายถึง การส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีลักษณะแคบกว่าการแพร่กระจายของสถานีโทรทัศน์ ทั่วไปสู่ประชาชนจำนวนมาก ในลักษณะ Narrowcasting จากสถานีผลิตต้นทาง (Head End) ผ่านระบบการทำงานของสายเคเบิ้ล Coaxial/fiber หรือ ย่านความถี่ไมโครเวฟ หรืออาจใช้ทั้งสองทางผสมกันก็ได้ ส่งไปยังปลายทางที่เจาะจง (Subscriber) ซึ่งเป็นสมาชิก ที่เสียค่าธรรม เนียมในการใช้บริการ โดยสมาชิก จะต้องมีอุปกรณ์พิเศษในการรับสัญญาณ เฉพาะภาษาทางการในภาษาไทยเรียกว่า โทรทัศน์ระบบ บอกรับสมาชิก รายการทาง Cable TV จะออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงและไม่มีโฆษณาคั่น ที่มาแรกเริ่มของระบบ Cable TV มีชื่อว่า Community Antenna Television หรือ CATV ดังนั้นในบางครั้งจึงมีผู้บอกว่า CATV ก็คือ Cable TV
CATV หรือ Community Antenna System
คือ ระบบโทรทัศน์รวม ส่วนใหญ่จะทำในบริเวณที่มีปัญหาในการรับสัญญาณ โทรทัศน์จากเครื่องส่ง เช่น ความแรงของสัญญาณต่ำ เนื่องจากอยู่ห่างจากจุดส่งมาก มีสัญญาณอื่นรบกวนสูง โดยการนำเสาอากาศ ไปติดตั้งบนที่สูงใกล้ๆ ชุมชน และติดตั้งเครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) เพื่อเพิ่มความแรง แล้วยิงสัญญาณออกไป
ระบบเริ่มแรกและเป็นที่มาของ Cable TV มีชื่อว่า Community Antenna Television หลักการก็คือ เมื่อเสาอากาศภาพรับ Television หรือ รับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีได้แล้ว (คืออยู่ในรัศมีที่รับสัญญาณได้แล้ว ) ก็จะทำการต่อสายอากาศพ่วงไปยังเครื่องรับเครื่องอื่นที่อยู่ไกลออก ไป (คือนอกรัศมีที่สัญญาณรับได้ )ด้วยวิธีนี้เอง จึงทำให้ผู้ที่อยู่นอกรัศมีการส่งเพราะความโค้งของพื้นผิวโลกสามารถรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้โดยการพ่วงสาย จึงมักเรียกกันเป็น โทรทัศน์ตามสาย หรือ Cable TVนอกจากนี้ในระยะทางไกลออกไปจนเกินศักยภาพของสายพ่วง ก็สามารถติดตั้งเครื่องขยายสัญญาณหรือเพื่อให้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก และเครื่องนี้สามารถแยกสายพ่วงออกไปได้อีกเป็นทอดๆ ไปเป็นการพ่วงเป็นทอดๆนี้จึงเกิดเป็นวงจรการถ่ายทอดสัญญาณตามสายพ่วงจากเสาอากาศภาครับเสาเดียวไปยังเครื่องรับได้เป็นจำนวนมากและไกลออกไป ต่อมาได้มีการเปลี่ยนไปใช้ระบบ Radiated Subscription Television System หรือ RSTV ซึ่งเป็นระบบ Cable TV ชนิดที่ไม่ได้ส่งผ่านด้วยเคเบิล (Wireless) แต่เป็นการส่งสัญญาณด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยระบบแรกที่ได้เข้ามานำใช้ในประเทศไทยและยังคงเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ IBC Cable TV และ Thai Sky TV ใช้แพร่ภาพให้กับสมาชิกส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งแบบที่ใช้ในประเทศไทยเป็นระบบ Multichannel Multipoint System หรือ MMDS เป็นการส่งสัญญาณที่ใช้คลื่นของวิทยุ และรับสัญญาณโดยใช้ปีกของสายอากาศ ออกอากาศในคลื่นความถี่ UHF (Ultra High Frequency )
ข้อดีของระบบนี้คือสมาชิกสามารถรับชมรายการได้มากกว่า 1จุด โดยแต่ละจุดสามารถเลือกรับชมรายการที่แตกต่างกัน แต่ข้อเสียของระบบ MMDS คือภาพจะไม่คมชัดมาก เพราะเป็นระบบ อนาล็อค เพราะช่องความถี่ของสัญญาณมีจำกัด ในอนาคตจึงสามารถรับชมได้น้อยช่องรวมทั้งปัญหาสำคัญคือ คลื่นสัญญาณเดินทางเป็นแนวระนาบ หากมีตึกสูงบัง อาจทำให้สัญญาณรับได้ไม่ชัดเจนหรือรับภาพไม่ครบทุกช่อง และในพื้นที่ที่เป็นจุกบอดก็ไม่สามารถรับสัญญาณได้เลย จากจุกด้อยของระบบ MMDS ดังกล่าว จึงนำไปสู่การพัฒนาไปสู่ระบบ Digital Direct To Home หรือ Digital DTH ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่ใช้ส่งสัญญาณภาพไปสู่อุปกรณ์รับจานดาวเทียมโดยผ่านดาวเทียมไทยคม 1 และไทยคม 5 และออกอากาศในย่านความถี่ Ku-band ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไดรับการพัฒนา การใช้แพร่ภาพโทรทัศน์ โดยเฉพาะขีดความสามารถออกอากาศ ครอบคลุมพื้นที่ทุกจุดทั่วประเทศ ทำให้ไม่ต้องลงทุนสร้างสถานีเครือข่ายที่มีราคาแพง รวมทั้งเทคโนโลยีการบีบอัดสัญญาณดิจิตอล MPEG 2 ที่ทำให้สามารถออกรายการได้กว่า 30 ช่อง ในอนาคต และรักษาคุณภาพสัญญาณภาพและเสียง อย่างมีประสิทธิเท่าเลเซอร์ดิสก์ หรือคอมแพคดิสก์ คุมภาพการชมรายการด้วยการเข้ารหัสสัญญาณ ในระบบ DTH ผู้ชมสามารถรับชมรายการต่างๆกว่า 20 ช่องนอกจากนี้ในด้านบริการอื่นๆ ระบบ DTH ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงและหลาก หลายไม่ว่าจะเป็นระบบ Interactive ที่ผู้ชมสามารถสื่อสารกลับไปยังผู้ให้บริการรายการโทรทัศน์ต่างๆได้ ซึ่งแบ่งเป็นบริการ Video on Demand ที่ผู้ชมสามารถแจ้งความประสงค์รายการและเวลาที่ต้องการชมได้ และบริการ Payper View ที่ผู้ชมสามรถเลือกชมรายการที่ออกอากาศเป็นระยะแล้ว คิดค่าบริการต่อจำนวนครั้งหรือช่วงเวลาที่ใช้บริการนอกจากนี้ยังมีบริการ Teleshopping ที่ผู้ชมสามารถขอดูรายการสินค้าและสั่งซื้อผ่าน Interactive TV แต่ระบบ DTH ก็มีข้อเสีย คือสามารถชมรายการได้เพียง 1 จุด ต่อเครื่องแปลงสัญญาณ 1 เครื่อง ทำให้บ้านที่มีเครื่องโทรทัศน์หลายเครื่องต้องรับชมช่องเดียวกัน นอกจากระบบ DTH แล้วเทคโนโลยีการส่งสัญญาณอีกระบบหนึ่งที่นำมา ใช้ในปัจจุบันก็คือ ระบบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง แต่ยังวางเครือข่ายไม่เพียงพอ จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ระบบสายเคเบิ้ล
เป็นระบบแรกที่นำมาใช้ในระบบเคเบิ้ลทีวี ซึ่งในระบบนี้ จะมีเครื่องส่งสัญญาณเป็นวีดีโอเทป และเลเซอร์ดิสก์ซึ่งจะผ่านการขยายสัญญาณก่อน แล้วจึงส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิ้ลทีวีเชื่อมต่อระหว่างเครื่องส่งกับเครื่องรับของลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิก ปัจจุบันก็ยังใช้ระบบนี้กันอยู่บริเวณต่างจังหวัดระบบนี้ มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ในการให้บริการ ที่มีบริเวณไม่กว้างนัก บริเวณที่มีเคเบิ้ลทีวีมักจะเป็นบริเวณที่เป็นแหล่งชุมชนตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้กัน รายการที่นำมาให้บริการจะเป็นการนำเอาวีดีโอมาเปิด แล้วส่งสัญญาณผ่านตัวขยายสัญญาณแล้วส่งสัญญาณไปยังบ้านสมาชิก
ระบบ MMDS (Multichannel Multipoint Distribution System )
เป็นระบบที่เพิ่มความสามารถในการส่งสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางมากขึ้นซึ่งเป็นบริษัทไอบีซีและบริษัทไทยสกาย ก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน โดยส่งสัญญาณด้วยความถี่ประมาณ 2,600 MHz จากสถานีส่งไปยังสถานีทวนสัญญาณซึ่งตั้งอยู่บริเวณอาคารสูงๆเพื่อทวนสัญญาณแล้วกระจายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆระบบนี้ช่วยขยายพื้นที่การใช้บริการ แต่มีข้อจำกัดการกระจายสัญญาณไปยังพื้นที่ที่มีอาคารสูงเป็นจำนวนมากซึ่งอาคารเหล่านี้ จะบดบังสัญญาณทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณได้ส่วนตัวรับสัญญาณที่บ้านผู้เช่าจะมีจานรับพร้อม Down Converterจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณความถี่สูง ให้เป็นความถี่กลางก่อนต่อเข้าไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ในการตั้งสัญญาณความถี่วิทยุหรือความถี่Microwave MMDS หรือย่านความถี่ 2,500 ถึง 2,700 เมกะเฮิรตซ์ จะให้บริการในพื้นที่ห่างจากสถานีไม่เกิน 30 กิโลเมตร ดังนั้นจึงต้องมีหอทวนสัญญาณหรือสถานีทวนสัญญาณ ( Repeater ) ส่วนความถีที่ใช้งานเราใช้ความถี่เดียวกับสถานีหลัก แต่ใช้เทคนิคในการรับและส่งด้วยการกลับ Polarize ของสายอากาศจึงสามารถแก้ปัญหาสัญญาณจากสถานีหลักมารบกวนกับสัญญาณจากสถานี Repeater ได้ จานสายอากาศหรือสาย อากาศรับ สัญญาณ MMDS ( MMDS Antenna ) ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุโทรทัศน์ที่แพร่กระจายในอากาศ และส่งให้ Down Converter แปลงสัญญาณให้มาอยู่ในย่านความถี่ UHF ย่านความถี่ 470 ถึง 600 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อที่เครื่องรับโทรทัศน์จะสามารถรับสัญญาได้
ระบบจานดาวเทียม DTH (direct to Home)
เป็นระบบสัญญาณแบบใช้จานดาวเทียมเป็นการให้บริการส่งสัญญาณแทนระบบ MMDS ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ที่ไม่สามารถส่งสัญญาณได้ครอบคลุมทั้งหมด เนื่องจากอุปสรรคในเรื่องของการบดบังสัญญาณระบบส่งสัญญาณแบบจานดาวเทียมจะเข้ามาแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ โดยการส่งสัญญาณจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ ไปยังดาวเทียมเพื่อที่จะกระจายสัญญาณไปยังพื้นที่ ที่ให้ บริการโดยที่ทาง ฝ่ายสมาชิก จะมีจานรับสัญญาณขนาดเล็ก ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร เป็นตัวรับสัญญาณแล้วส่งสัญญาณผ่านเครื่องแปลงสัญญาณ ให้ตรงกับความถี่ของเครื่องรับโทรทัศน์อีกทีหนึ่ง
ระบบไดเร็กทูโฮม
เป็นระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ส่งตรงไปยังเครื่องรับสัญญาณตามบ้านหรือไม่ต้องผ่านสถานีทวนสัญญาณที่ภาคพื้นดิน ประชาชนในอเมริกาจะได้รับชมรายการจากระบบไดเร็ก ทูโฮมที่มีช่องรายการมากกว่า 150 ช่อง ซึ่งประกอบด้วยรายการกีฬาข่าว ความบันเทิง ภาพยนตร์ดนตรีและรายการเปเปอร์วิว ที่จะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้น รายการที่นิยมชมกัน เช่น ซีเอ็นเอ็น (CNN) , ช่องดิสโคฟเวอรี่(Discovery Channel),ช่องดิสนี่(Disney Channel) ,ช่องเอ็นคอร์ (EncoreChannel) นอกจากนี้ยังมีรายการอื่นๆที่ไดเร็กทูโฮม ซื้อมารวมอยู่ด้วยคือช่องไซไฟ(Sci-Fi Channel) ,ช่อง เวธเธอร์ (Weather Channel) อีกด้วย
ระบบเคเบิ้ลใยแก้ว ( Fiber Optic )
หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบไฮย์บริดจ์ ไฟเบอร์/โคแอก (Hybrid Fiber/Coaxial) เป็นระบบสัญญาณโดยผ่านเครือข่ายของเคเบิ้ลใยแก้วระบบนี้ จะส่งสัญญาณจากแหล่งกำเนิดสัญญาณไปตามสายเคเบิ้ลใยแก้ว สัญญาณจะถูกส่งไปครอบคลุมพื้นที่ที่เครือข่ายของเคเบิ้ลใยแก้ววางอยู่ สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกทางบริษัทจะติดตั้งสายเคเบิ้ล Coaxial ซึ่งเป็นสายที่เชื่อมต่อระหว่างเคเบิ้ลใยแก้วไปยังสมาชิกผู้ใช้บริการ
องค์ประกอบของระบบส่งสัญญาณ ระบบการส่งสัญญาณเคเบิ้ลทีวีจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่มีหน้าที่ส่งสัญญาณหรือกำหนดสัญญาณที่ได้จากการรวบรวมสัญญาณหลายๆช่องที่ต้องกรจะส่งจากตัวส่งไปยังตัวรับสัญญาณ ส่วนที่ 2 เป็นตัวรับสัญญาณก็จะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสัญญาณที่รับเข้ามาให้ออกเป็นสัญญาณภาพและเสียงต่อระหว่างตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ส่วนที่ 3 คือเครือข่ายที่เชื่อม
ลักษณะวิธีการสื่อสาร ได้แก่ 1. ระบบการสื่อสารทางเดียว แบ่งเป็น 3 วิธี 1.1 เดินสายตรงจากศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ไปยังชุมชนแล้วเดินสายย่อยเพื่อให้ บริการโดยเฉพาะสมาชิก 1.2 ใช้ระบบดาวเทียมติดต่อระหว่างสถานีไปยังชุมชน และเดินสายย่อยให้บริการแก่สมาชิก 1.3 ใช้วิธีคลื่นความถี่สูงมากกระจายสถานีโทรทัศน์ไปยังชุมชนที่ต้อง การและติดเครื่องแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณภาพแก่สมาชิก
2. ระบบการสื่อสารสองทางผู้รับสมารถติดต่อกับสถานีได้โดยตรง ในกรณีที่ต้องการทราบข่าวสาร ข้อมูลแจ้งเหตุเตือนภัย ฯลฯ ได้ตลอดเวลา
ลักษณะการส่งสัญญาณ 1.ระบบการส่งโทรทัศน์ตามสายตรงเรียกว่า Direct Broadcasting เป็นการส่งสัญญาณตามสายโดยเฉพาะคือไม่ได้รับจากสายอากาศมาเป็นCATV(COMMUNITY ANTANA TELEVISION )
2. ระบบส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ RSTV ( RADIATED SUBSCRIPTION TV SYSTEM ) ซึ่งเป็นระบบสัญญาณแบบไมโครเวฟ หรือยูเอชเอฟก็ได้โดยส่งออกไปในลักษณะที่เป็น มัลติพอยต์ (MULTIDISTRIBUTION ) หมายถึงเมื่อส่งคลื่นออกไปถึงแต่ละจุด ก็จะมีการแตกแยกออกเป็นหลายๆ จุดอีกครั้ง ปรกติแล้วออกอากาศ รอบทิศทางโดยใช้ความถี่ 2.5 – 2.7 จิกะเฮิรตซ์ความกว้างของแถบคลื่น 200 เมกะเฮิรตซ์ กำลังเครื่องส่งขององสัญญาณภาพ 100 กิโลวัตต์
3. ระบบดาวเทียม ( SATTLELITE SYSTEM) ระบบนี้ใช้กับคลื่นไมโครเวฟ แต่เป็นการส่งในย่านไมโครเวฟที่สูงกว่า RSTV เพราะคลื่นไมโครเวฟของดาวเทียมจะใช้ในย่านเฉพาะที่เรียกว่า ซีแบนด์
Single Channel CATV ใช้สำหรับถ่ายทอดสด ผ่านไปบนระบบ CATV - สามารถทำรายการโทรทัศน์ได้ (TV Programme)
- แสดงภาพได้ทั้ง วิดีโอ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพจากแฟ้มข้อมูล Power Point และภาพจากแฟ้มข้อมูลอินเตอร์เน็ต
Multiple Channel CATV สามารถขยายขีดความสามารถให้ใช้กับ CATV แบบหลายๆช่องได้ แต่ละช่องทำรายการที่แตกต่างกัน ผู้ชมสามารถเลือกชมตามความชอบ
Blog การทำงานของ CATV
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)